กระทิงแดง และ ฟุตบอล
วันก่อน เรามีการพูดถึงเรื่องราวของ “โค้ก” และ “เป๊ปซี่” กับเรื่องราวที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับ วงการฟุตบอล มาแล้ว วันนี้ เราขอหยิบเรื่องราวของ อีกหนึ่ง เครื่องดื่ม อีกหนึ่งแบรนด์ ที่ต้องบอกว่า มีความเกี่ยวข้องกับ คนไทย เสียด้วย กับแบรนด์ ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี กับ แบรนด์ “กระทิงแดง” หรือ “เร้ดบูลล์” นั่นเอง
กระทิงแดง เป็นหนึ่งในแบรนด์ เครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งเริ่มต้นจาก คุณ เฉลียว อยู่วิทยา ภายใต้ชื่อบริษัท “หจก. ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล” โดยให้โรงงานผลิตยาที่มีมาตรฐานในประเทศเยอรมันนีเป็นผู้ผลิต โดยมีการผลิตยา สามัญประจำบ้าน ก่อนที่จะมีการผลิตเครื่องดื่มชูกำลังในชื่อ “กระทิงแดง” ขึ้น และประสบความสำเร็จ เป็นอย่างดี ในประเทศไทย
ต่อมาในปี 1978 “กระทิงแดง” เริ่มต้นการขยายตลาดไปยังในทวีปเอเชีย และยุโรป ภายใต้แบรนด์ “เร้ด บูลล์”
ผู้สนับสนุน ในโลกกีฬา
ดีทริช เมเทสซิทซ์ นักธุรกิจชาวออสเตรีย เดินทางมายังประเทศไทย และเกิดอาการ Jet Lag ในการเดินทาง และได้รับเครื่องดื่ม กระทิงแดง ทำให้หายจากอาการดังกล่าว จนทำให้เขาสนใจที่จะนำ “กระทิงแดง” ไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยนาย ดีทริช ซึ่งเป็นตัวแทนขายสินค้าอุปโภคให้กับบริษัท ได้มีการพบกับ คุณเฉลียว และตกลงก่อตั้งบริษัท เรดบูล จีเอ็มบีเอช (Red Bull GmbH) ขึ้นในประเทศออสเตรีย โดยมีการแบ่งสัดส่วนหุ้น ให้คุณเฉลียว และครอบครัวถือหุ้น 51% และ คุณ ดีทริช 49%) และวางจำหน่ายกว่า 70 ประเทศทั่วโลกในขณะนั้น โดยมีข้อแม้ว่า การบริหารบริษัทนี้จะเป็นหน้าที่ของคุณ ดีทริช ทั้งหมด ภายใต้แบรนด์ “เร้ด บูลล์”
หลังจากทำตลาดในกลุ่มเครื่องดื่มประสบความสำเร็จไปทั่วโลก “เร้ด บูลล์” เข้าสู่ ในวงการกีฬา กับการสนับสนุนกิจกรรมการแข่งขันกีฬาหลากหลายชนิด โดยเฉพาะ กีฬาผาดโผน รวมถึง กีฬาที่เน้นความเร็ว รวมถึงเรื่องราวของเราในวันนี้ อย่างฟุตบอล
ฟุตบอล หรือ “ซอคเกอร์” ในประเทศสหรัฐ อเมริกา เติบโตขึ้นอย่างตื่นตัว หลังจาก “พญาอินทรี” ซึ่งในเวลานั้น อเมริกา ยังไม่มี ฟุตบอลลีกอาชีพ อย่างเป็นทางการ ได้มีโอกาสจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก หรือ “ยูเอสเอ 94” ซึ่งในเวลาต่อมา พวกเขาจึงก่อตั้ง ฟุตบอล ลีก อย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อว่า “เมเจอร์ ลีก” โดยในยุคตั้งต้นมีเพียง 10 สโมสรเท่านั้น แต่กว่าจะทำการแข่งขันกันจริงก็ต้องไปเริ่มต้นในปี 1996
สโมสรที่ชื่อว่า นิวยอร์ค เมโทรสตาร์ หรือ นิวเจอร์ซีย์ เมโทรสตาร์ ก็เข้าร่วมในครั้งนั้นด้วย
2006 เจ้าของผลิตภัณฑ์ “เร้ด บูลล์” และ “AEG” ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า ตัดสินใจซื้อกิจการของสโมสร พร้อมกับเปลี่ยนชื่อของทีม ให้กลายเป็น “นิวยอร์ค เร้ดบูลล์” เช่นเดียวกับตราสโมสรที่มีการนำ“กระทิงแดง” และดวงอาทิตย์เข้ามาเป็นส่วนของหนึ่งของตราสโมสรนับจากนั้นเป็นต้นมา
2008 “นิวยอร์ค เร้ดบูลล์” มีการเปลี่ยนแปลงตราสโมสรเล็กน้อย ปรับลายเส้นบนตราสโมสรให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็น “หนึ่งเดียว” กับตราสินค้าของ “เร้ดบูลล์” ซึ่งมีปรากฏอยู่ในวงการกีฬาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น มวย, เอ็กซ์ตรีม เกมส์ หรือว่าจะเป็นบนรถแข่งฟอร์มูล่า วัน
เป็นส่วนหนึ่งของ วงการฟุตบอลไปแล้ว
ในวงการฟุตบอลยังมีอีกสองทีมที่ เร้ดบูลล์ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีม ประกอบไปด้วย เร้ดบูลล์ ซัลบวร์ก สโมสรฟุตบอลในออสเตรีย ซึ่งเป็นอดีต สโมสรเก่าของ ทาคุมิ มินามิโนะ นักเตะชาวญี่ปุ่นคนแรกของ สโมสรลิเวอร์พูล รวมถึง เออร์ลิ่ง เบร้าท์ ฮาแลนด์ ยอดกองหน้าฟอร์มแรง ทีมชาตินอร์เวย์ ซึ่งเวลานี้ลงเล่นกับ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนต์
อาร์เบ ไลป์ซิค สโมสรฟุตบอลชั้นนำในเยอรมัน โดย อาร์เบ (RB) มาจาก Red Bull แต่เนื่องจากกฎของฟุตบอลเยอรมันไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อตราสินค้าอยู่บนชื่อของสโมสรจึงมีการใช้คำว่า อาร์เบ ลงไปแทนนั่นเอง โดย ณ.เวลานี้ พวกเขาคือ หนึ่งในสโมสรขาประจำของ แชมเปี้ยนส์ ลีก เรียบร้อยแล้ว
ตลอดระยะเวลามากกว่า 20 ปีนับจากการก่อตั้งสโมสร นิวยอร์ค เร้ด บูลล์ เคยต้อนรับ เหล่า นักเตะ ชั้นยอดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรเบร์โต้ โดนาโดนี่ ปีกทีมชาติอิตาลี ซึ่งต่อมาคือผู้จัดการทีมชาตอิตาลี, โลธ่าร์ มัทเธอุส, ทิม เคฮิลล์, ทิม ฮาเวิร์ด, ราฟาเอล มาร์เกซ และยอดกองหน้าอย่าง เธียร์รี่ อองรี ก็แขวนสตั๊ด กับสโมสรแห่งนี้
อย่างไรก็ตาม นิวยอร์ค เร้ดบูลล์ ยังไม่เคยคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศเลยแม้แต่ครั้งเดียวนับตั้งแต่การก่อตั้งสโมสร แต่นั่นคงไม่สำคัญเท่ากับ การที่ Red Bull ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ วงการฟุตบอล อย่างกลมกลืนไปแล้วนั่นเอง
หมายเหตุ:
• “ซอคเกอร์” ในอเมริกามีการเล่นกันมาอย่างยาวนาน แต่กว่าจะสามารถตั้งเป็นลีกอาชีพกันแบบเป็นเรื่องราวในปี 1988 ทุกวันนี้ เมเจอร์ ลีก ก็ยังคงมีการเพิ่มทีมอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นหนึ่งในกีฬายอดนิยมที่เราเรียกกันว่า “อเมริกันเกมส์” ประกอบไปด้วย อเมริกันฟุตบอล, บาสเก็ตบอล, ฮอคกี้น้ำแข็ง และซอคเกอร์ หรือก็คือฟุตบอลนั่นเอง
• แม้จะเป็นที่เข้าใจกันว่าคือลีกฟุตบอลของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ MLS ก็มีทีมจากประเทศแคนาดาเข้าร่วมด้วย เหมือนกับในพรีเมียร์ ลีก อังกฤษ ที่มีสโมสรที่ตั้งอยู่ในประเทศเวลส์ อย่าง คาร์ดิฟฟ์ ซิตี้
• ระบบการเล่นในลีกนี้จะมีการลงเล่นแบบฤดูกาลปกติแบบเก็บคะแนนในลีกทั่วไป แบ่งเป็นโซนตะวันออก และโซนตะวันตก ก่อนที่จะนำ 6 อันดับแรกของทั้งสองโซนมาลงเล่นในรอบ “Play-Off” แบบเหย้า-เยือน เพื่อหาแชมป์ MLS Cup เพียงหนึ่งเดียว โดยเกมนัดชิงชนะเลิศจะลงเล่นเพียงเกมเดียว