“จูลส์ ริเมส์” เทพธิดาแห่งชัยชนะ รางวัลสำหรับแชมป์โลก
“ฟุตบอลโลก” รายการฟุตบอลระดับชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในวงการฟุตบอล ไม่ว่าคุณจะเล่นฟุตบอลที่ไหน อย่างไร การได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “ฟุตบอลโลก” คือ เกียรติยศ สูงสุด ของชีวิตนักฟุตบอล
นักเตะชื่อดัง หลายคน สร้างชื่อเสียงมาจากการลงเล่นในฟุตบอลโลก บางคนไม่เคยได้สัมผัสเวที ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย แม้แต่ครั้งเดียวในชีวิต จัดการแข่งขันทุก 4 ปี แค่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ มหกรรมฟุตบอลโลก สักครั้งหนึ่งก็มากพอ ให้บอกเล่าไปจนวันตาย บางคนก็ได้ลงเล่นมากกว่าหนึ่งครั้ง แต่จะมีสักกี่คนที่ได้ชูถ้วย “แชมป์โลก”
วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึง ถ้วยฟุตบอลโลก “ถ้วยแรก” กัน
ฟุตบอลโลก เริ่มต้นการแข่งขัน ครั้งแรกในปี 1930 ซึ่งในปี 2020 นี้ ฟุตบอลถ้วยรายการนี้ มีอายุครบ 90 ปี พอดี และในปี 2022 ฟุตบอลโลก ที่ประเทศ กาตาร์ จะเป็นครั้งที่ 22 (งดเว้นจัดการแข่งขันในปี 1942 และ 1946 เนื่องจากอยู่ในภาวะสงครามโลก ครั้งที่2)
“จูลส์ ริเมส์” คือชื่อถ้วยรางวัล สำหรับผู้ชนะในการแข่งขันฟุตบอลโลก แรกเริ่มเดิมทีถูกต้องชื่อว่า “วิอตอรี่” ซึ่งหมายถึงชัยชนะ แต่ก็มีการเปลียนชื่อให้มาเป็นถ้วยรางวัล “จูลส์” ตามชื่อของ ประธานของฟีฟ่า นาย จูลส์ ริเมส์ ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส และเคยเป็น นักเตะมาก่อน
สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อมาเป็น จูลส์ เนื่องจากเขาในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง ประธานของฟีฟ่า เป็นบุคคลสำคัญที่ผลักดัน การจัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ ฟุตบอลโลก เป็นผลสำเร็จนั่นเอง โดยมีการเปลี่ยนชื่อถ้วยรางวัล จาก วิคตอรี่ มาเป็น จูลส์ ริเมส์ ในปี 1946 เป็นต้นมา
การแข่งขัน ฟุตบอลโลก ครั้งแรกในปี 1930 จัดการแข่งขันขึ้นทีประเทศ อุรุกวัย โดย อุรุกวัย ก็เป็นชาติแรก ที่สามารถคว้าแชมป์รายการนี้ได้สำเร็จ ถ้วย “จูลส์” ถูกขนส่งผ่านทางเรือ โดยขึ้นเรือทางตอนใต้ของฝรั่งเศส และเดินทางไปพร้อมกับ นักเตะ ทีมชาติฝรั่งเศส, โรมาเนีย และ เบลเยี่ยม เพื่อเดินทางไปแข่งขัน ฟุตบอลโลก ในครั้งนั้นด้วย
ถ้วยรางวัล ฟุตบอลโลก ผลิตจาก แร่เงินชุบด้วยทองคำบริสุทธิ์ เป็นรูปเทพธิดาแห่งชัยชนะ ไนกี้ (ใช่ครับ ชื่อของแบรนด์กีฬาไนกี้ นั่นละ) พร้อมฐานวัสดุหินอ่อน ก่อนจะมีการประดับด้วย ไพฑูรย์ ในเวลาต่อมา โดย ศิลปิน ผู้ออกแบบถ้วยรางวัลนี้ คือ อเบล ลาเฟลอร์ศิลปินชาวฝรั่งเศส และในปี 1954 มีการปรับปรุงโครงสร้างของถ้วยรางวัลให้มีความสูงขึ้นกว่าเดิม
ทั้งนี้ในปี 1958 ถ้วยนี้ สร้าง “ธรรมเนียม” ใหม่ สำหรับผู้คว้าแชมป์โลก เมื่อ ฮิลเดราโด้ เบลินี่ นักเตะทีมชาติบราซิล ได้ทำท่าชูภ้วย จูลส์ ขึ้นเหนือศีรษะ ตอนรับแชมป์โลก สมัยแรกจาก ห้าสมัย ของ พลพรรค “เซเลเซา” ที่ต่อมา กลายเป็น “ธรรมเนียม” ไปโดยปริยายกับการที่ กัปตันทีม แชมป์โลก จะชูถ้วยขึ้นเหนือศีรษะในลักษณะนี้
ถ้วยฟุตบอลโลก "จูลส์ ริเมส์" กับ การโจรกรรมนับครั้งไม่ถ้วน
ถ้วยรางวัลนี้ส่งต่อกันมาอย่างยาวนานมากกว่า 40 ปี นับจากวันแรกที่เริ่มใช้งาน แต่ที่ทำให้ ถ้วยรางวัล นี้ มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ มันเคยถูก“โจรกรรม” มาแล้วครั้งหนึ่งในปี 1966
20 มีนาคม 1966 ในงานจัดแสดงถ้วยรางวัล ฟุตบอลโลก ในกรุงลอนดอน ถ้วยรางวัลถูกขโมยออกจากนิทรรศการ ดังกล่าว ซึ่งสร้างความโกลาหลครั้งใหญ่ ให้กับ อังกฤษ อย่างยิ่ง โดยพวกเขาใช้เวลาตามหานานถึง 7 วัน จนในที่สุด พบถ้วยรางวัลถูกห่ออยู่ในกระดาษหนังสือพิมพ์ วางอยู่ในสวนแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของลอนดอน และการค้นพบนี้ เกิดขึ้นโดย สุนัขตัวหนึ่งที่ชื่อว่า พิกเกิ้ลส์
และเพื่อความปลอดภัยในการสูญหาย ทางสมาคมฟุตบอลได้มีการผลิตถ้วยจำลองมาไว้ในสนามแข่งขัน แทนที่ของจริง ซึ่งด้วยในปี 1966 อังกฤษเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ซึ่งคว้าแชมป์ได้สำเร็จ ทำให้ถ้วยรางวัลอยู่ในอังกฤษยาวนานถึง 4 ปี ก่อนที่จะมีการนำส่งกลับไปยัง ฟีฟ่าในฐานะตัวแทนการจัดการแข่งขัน นำไปเก็บรักษาไว้ เพื่อรอแชมป์ทีมใหม่มารับช่วงต่อไป
อย่างไรก็ตามมีการเปิดเผยในภายหลังว่า ฟีฟ่า ไม่ต้องการให้มีการเปิดเผยถ้วย “จูลส์ ริเมส์” จำลองที่ไหนอีกเลย ทำให้มันถูกเก็บซ่อนไว้ในห้องนอนของผู้สร้างถ้วยดังกล่าว ซึ่งไม่มีการเปิดเผยชื่อ ก่อนที่ในปี 1997 จะมีการนำถ้วย จูลส์ จำลอง ออกมาประมูลในปี 1997 และจบลงด้วยราคา 254,500 ปอนด์ โดยผู้ชนะประมูล ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ฟีฟ่า นั่นเอง ที่ประมูลชนะไปในครั้งนั้น ทั้งนี้มีข่าวลือว่า แท้จริงแล้ว ถ้วยรางวัลนี้คือ “ของจริง” ไม่ใช่ของ “จำลอง” แต่ ฟีฟ่า ก็ออกมาแก้ข่าวยืนยันว่า นี่คือถ้วยจำลองของ จูลส์ นั่นเอง และทุกวันนี้ ถ้วยรางวัล จำลองใบนี้ ก็อยู่ในพิพิธภัณฑ์ฟุตบอล ในประเทศอังกฤษ เพื่อจัดแสดงให้รับชมกัน
หายไปตลอดกาล "จูลส์" เทพธิดาแห่งชัยชนะ
ถ้วยรางวัล “จูลส์” ปลดประจำการตนเองในปี 1970 หลังจากที่ บราซิล คว้าแชมป์โลกได้เป็นครั้งที่สาม เป็นชาติแรกของโลก ที่ทำได้ ซึ่งมีการระบุในกฎว่า หากชาติใดสามารถคว้าแชมป์โลกได้สามครั้ง จะได้รับการครอบครองถ้วยแชมป์โลกของจริง เป็นกรรมสิทธิ์ถาวร โดย ถ้วยฟุตบอลโลกถูกนำไปเก็บไว้ในที่ทำการของสมาคมฟุตบอลทีมชาติบราซิล ในกรุง ริโอ เดอ จาเนโร แต่แล้วในปี 1983 ถ้วย “จูลส์” ก็ถูกโจรกรรมอีกครั้ง และครั้งนี้มันสูญหายไปตลอดกาล ในแบบที่ไม่สามารถระบุถึงผู้ก่อเหตุได้อย่างแน่ชัด โดยสมาคมฟุตบอลบราซิล ได้มีการสร้างถ้วยรางวัล “จูลส์” จำลองขึ้นมาใหม่ในเวลาต่อมา
สิ้นสุดบทบาทของ “เทพีแห่งชัยชนะ” ของวงการฟุตบอลเอาไว้เพียงเท่านั้น
พรุ่งนี้ เราจะมาบอกเล่าถึง เรื่องราวของ “ถ้วยแชมป์โลก” ใบปัจจุบันกันครับ