ufabet ทีเด็ด บอล วันนี้ ราคา บอล

มหากาพย์การย้ายทีมของ “อาชาวิน” Part 2

     การสนทนาของ แลชเตอร์ และ อาชาวิน เริ่มต้นขึ้นด้วยการการเคลียร์สถานะของ อาชาวิน กับ เอเยนต์ของเขาก่อนว่าเป็นอย่างไร ก่อนที่จะได้ข้อสรุปว่า แลชเตอร์ ได้สิทธิ์ในการจัดการเกี่ยวกับการเจรจาเรื่องการย้ายทีมของ อาชาวิน สู่ สโมสรฟุตบอลในยุโรป แต่เพียงผู้เล่นเท่านั้น หลังจากคุยกันเรียบร้อย แลชเตอร์ ก็พร้อมทำงานกับ ลูกค้าคนใหม่ของเขา

     แต่เรื่องมันไม่ได้ง่ายแบบนั้นอีกนั่นล่ะ เมื่อปัญหาที่สองตามมา และคราวนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ บุคคลทั้งภายใน และภายนอกของสโมสร เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก หนึ่งในบุคคลภายนอก แต่ใหญ่คับประเทศรัสเซีย เขาคนนั้นก็คือ

วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำของประเทศรัสเซีย

     เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วกันว่า ผู้นำรัสเซีย เกิดที่เมือง เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก และแน่นอน เซนิตฯ คือสโมสรโปรดของเขาตั้งแต่เด็ก รวมถึง อังเดร อาชาวิน ก็คือผู้เล่นยุคปัจจุบันที่เขาชื่นชอบเป็นพิเศษ ขณะที่ภายในสโมสรเองนั้น มีผู้สนับสนุนคือ “กาซพรอม” (GAZPROM) บริษัทที่นำดำเนินด้านธุรกิจด้านก๊าซที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซีย และพวกเขาซื้อกิจการของสโมสรตั้งแต่เดือนธันวาคม 2005 โดยเป็นผู้ให้เงินทุนมหาศาลกับสโมสร ทั้งเรื่องของเงินในการเสริมทีม รวมถึงการสร้างสนามแข่งขันใหม่ (ปัจจุบัน กาซพรอม อารีน่า สร้างขึ้นใหม่ในปี 2017 เพื่อต้อนรับฟุตบอลโลก 2018 และเป็นสนามเหย้าใหม่ของสโมสรเซนิตฯ) ขณะที่ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ 1994-2017 เซนิตฯ ใช้สนามเหย้าที่ชื่อว่า เปตรอฟสกี้ สเตเดี้ยม เป็นรังเหย้าของตนเอง

     โดยผู้บริหารคนหนึ่งของ กาซพรอม ได้ติดต่อเข้ามายัง แลชเตอร์ เพื่อแจ้งว่าพวกเขาปราถนาอยากที่จะเก็บตัว อาชาวิน ไว้ในรัสเซีย อย่างไรก็ตามความปราถนาของ นักเตะ ก็อยากที่จะออกไปหาประสบการณ์ใหม่นอกประเทศ และ แลชเตอร์ ก็เดินเรื่องเจรจาให้กับเขา ที่จะเจอกับเรื่องราวที่น้อยคนจะเจอแบบเขา

คุณคิดอย่างไรบ้างกับ เบอร์ 10 คนนั้น

      “วันหนึ่งมีเจ้าหน้าที่มาที่บ้านของผมในมอสโก เขาบอกกับผมว่า “คุณได้รับคำเชิญให้พบกับ FSB หรือก็คือ หน่วยรักษาความปลอดภัยของรัฐบาลกลางประเทศรัสเซีย ว่าง่ายๆ ก็คือ KGB เดิมนั่นเอง ผมคิดว่าเพื่อนมาอำผมในตอนแรก แต่เจ้าหน้าที่โชว์บัตรประจำตัวให้ดู และก็พาผมไปที่สำนักงานที่ลุบยานก้า ซึ่งเป็นสำนักงานของ KGB เดิม และก็ให้ผมนั่งรออยู่สองชั่วโมง ไม่มีใครมาเจอผมทั้งนั้น นอกจากกล้องตัวหนึ่งที่ขยับตามทุกครั้งที่ผมหันซ้ายหันขวา”

     “ต่อมามีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเข้ามาหาผม เขาบอกกับผมว่า “เดนนิส เรารู้ว่าคุณมาอยู่ต่างประเทศนานมากแล้วนะ แต่เราก็มีเป้าหมายที่ชัดเจนแน่วแน่ในใจเรา เราต้องการให้ อังเดร อาชาวิน ลงเล่นในรัสเซียต่อไป เข้าใจไหม” มันเหมือนภาพยนตร์เลยนะ แรมโบ้ อะไรงี้ ผมคิดในใจเลยว่า นี่มันปี 2008 นะ ไม่ใช่ สหภาพโซเวียต ช่วงทศวรรษที่ 80”

     “ตอนผมอยู่ที่นั่น ผมโดนจับถอดเข็มขัด, สร้อยข้อมือ, รองเท้า, โทรศัพท์มือถือ โดนสั่งเก็บหมด 6 ชั่วโมง เป็นเวลาที่ไม่มีใครรู้ว่าผมอยู่ไหน รวมทั้งภรรยาของผมด้วย และเธอกำลังตั้งครรภ์ พวกเขาบอกว่า พวกเขารู้ว่าแม่ผมอยู่ที่ไหน และพวกเขาอยากเช็คว่าแม่ผมสบายดีไหม ก่อนที่สุดท้ายเขาจะปล่อยตัวผมออกมา ผมโกรธมากที่เจอแบบนี้ แต่ผมคิดว่า กูตายแน่ แต่กูจะเอา อาชาวิน ออกจากรัสเซียให้ได้”

     มีนาคม 2008 แลชเตอร์ อยู่ในฝรั่งเศส เขานั่งดูเกมระหว่าง โอลิมปิก มาร์กเซย์ ลงเล่นพบกับ เซนิตฯ ในเกมยูฟ่า คัพ รอบ 16 ทีมสุดท้าย มีแขกพิเศษหลายคนเข้ามาชมเกมในคืนนั้นด้วย หนึ่งในนั้นคือ อาร์แซน เวนเกอร์ ผู้จัดการทีมอาร์เซนอล ที่เข้ามาดูฟอร์มของ ซามีร์ นาสรี่ กองกลางทีมชาติฝรั่งเศส ของโอแอม ซึ่งต่อมาย้ายมาเล่นกับ อาร์เซนอล ในหน้าร้อนของฤดูกาลต่อมา

     เกมนั้น เซนิต ตามหลัง 3-0 หลังเกมผ่านไปเพียง 55 นาที ถือว่าเกมค่อนข้างขาดแล้ว แลชเตอร์ ถือโอกาสเข้าหา อาร์แซน เวนเกอร์ เพื่อทำการทักทาย โดยมีเป้าหมายเพื่อคุยเรื่องของ อาชาวิน

“คุณคิดอย่างไรบ้างกับ เบอร์ 10 คนนั้น อาชาวิน” แลชเตอร์ ถาม เวนเกอร์

“เขาเป็น นักเตะที่ดีที่สุดในสนามวันนี้เลยนะ” เวนเกอร์ ตอบกลับ

“จะเป็นงั้นได้อย่างไร ทีมของเขาตามหลังสามประตูเลยนะ”

“ผมรู้ดีกว่าผมพูดอะไรออกไปนะ” เวนเกอร์ ตอบกลับมาอีกครั้ง

     “สำหรับผม เวนเกอร์ เป็นจิ้งจอกเจ้าเลห์คนหนึ่ง เขาเป็นแบบนั้น แต่ต้องบอกแบบนี้นะว่า ผมทำงานสายนี้มา 29 ปี ผมเจรจาดีลมาหลายร้อยดีล ผมรู้สึกด้วยภาษากายของ อาร์แซน ว่าเขาสนใจ เขาแค่สงวนท่าทีเท่านั้น”

      ท้ายเกม โอแอม-เซนิตฯ แลชเตอร์ และ เวนเกอร์ ได้ชมเกมใกล้กัน และได้เห็นจังหวะการครองบอลจากพื้นที่ 45 หลา ทางซ้ายก่อนจะบุกตะลุยผ่านแนวรับโอแอม และทำประตูได้ โดยเกมนั้น โอแอม ชนะ 3-1 [เกมเลกที่สองในบ้าน เซนิตฯ เปิดบ้านชนะ 2-0 เข้ารอบด้วยกฏประตูทีมเยือน]

จนกระทั่งเข้าสู่ ทัวร์นาเมนต์ ยูโร 2008

     “ผมเห็นอาการดีใจของเวนเกอร์ชัดเจน จากการที่ อาชาวิน ทำประตูนั้นได้ ผมเชื่อมั่นว่าเขาชอบ อาชาวิน”

     แลชเตอร์ และ เวนเกอร์ ได้พบกันอีกครั้งในเกมรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่า คัพ ซึ่งปีนั้น เซนิตฯ ผ่านมาทั้ง ไบเออร์ เลเวอร์คูเซ่น และบาเยิร์น มิวนิค มาได้จนถึงเข้ารอบชิงชนะเลิศ โดยพบกับ กลาสโกว์ เรนเจอร์ส สโมสรจากสกอตแลนด์ ซึ่งเกมนั้นจบลงด้วยชัยชนะของ ตัวแทนจาก รัสเซีย 2-0 คว้าแชมป์ไปครอง ที่สนาม ซิตี้ ออฟ แมนเชสเตอร์ ที่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เอติฮัต สเตเดี้ยม บ้านของ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ นั่นเอง

      อย่างไรก็ตาม การเจรจาการซื้อขายนักเตะยังไม่เกิดขึ้น จนกระทั่งเข้าสู่ ทัวร์นาเมนต์ ยูโร 2008 ซึ่งจัดการแข่งขันที่ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ และออสเตรีย เป็นครั้งแรกของยูโร ที่มีการจัดการแข่งขันแบบมีเจ้าภาพร่วมกันถึงสองประเทศ โดย รัสเซีย สองเกมแรกของทัวร์นาเมนต์ ไม่มี อาชาวิน ในสนามเนื่องจากติดโทษแบน แต่หลังจากนั้นเขาก็โชว์ฟอร์มได้อย่างโดดเด่น โดยเฉพาะเกมรอบ 8 ทีมสุดท้าย ซึ่ง รัสเซีย ชนะ เนเธอร์แลนด์ 3-1 [ก่อนจะตกรอบรองชนะเลิศ และ อาชาวิน มีชื่อติดทีมยอดเยี่ยมของทัวร์นาเมนต์ ในเวลาต่อมา]

แลชเตอร์ รีบติดต่อหา เวนเกอร์ ทันที หลังเกมรอบแปดทีมสุดท้ายจบลง คำตอบที่ได้รับคือ

      “นายไม่ต้องบอกอะไรกับฉันทั้งนั้น เด็กคนนี้ไม่ใช่สำหรับเรา หลังฟอร์มการเล่นนแบบนี้ เขาจะถูกตามตัวด้วยสโมสรใหญ่อีกมากมาย อาร์เซนอลยังต้องชำระหนี้สินเรื่องของค่าสนาม เอมิเรตส์ สเตเดี้ยม ดังนั้นเสียใจด้วย ฉันทำอะไรไม่ได้กับดีลนี้”

นั่นไง พวกคุณถึงต้องมีคนอย่างผม

     แลชเตอร์ ทราบดีว่า ณ.เวลานั้น เวนเกอร์ อยู่ที่กรุงเวียนนา; ออสเตรีย และที่พักของเขาไม่ห่างจาก โรงแรมที่พักของทีมชาติรัสเซีย ดังนั้นเขาจึงเชิญเวนเกอร์ เพื่อไปพบกับ อาชาวิน โดยตรง แต่ เวนเกอร์ เลือกปฏิเสธโดยเขาให้เหตุผลว่า มันเป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการพบกับ นักเตะในเวลาแบบนั้น และเขาเชื่อมั่นว่า อาชาวิน จะได้รับความสนใจมากมายจากเหล่าสโมสรในยุโรป ในการขอซื้อตัวเขา ซึ่ง เวนเกอร์ คาดการณ์ได้ถูกต้อง เพราะหลังจบการสนทนาไม่กี่นาทีหลังจากนั้น โทรศัพท์ของเขาดังขึ้นอีกครั้ง และปลายสายคือ ตัวแทนจากสโมสร บาร์เซโลน่า แต่พวกเขามาพร้อมกับข้อความที่ว่า

     “เราต้องการแจ้งว่า เราได้เปิดการเจรจากับต้นสังกัดของ อังเดร อาชาวิน และข้อเสนอของเราได้รับการปฏิเสธ” ปลายสายกล่าวกับ แลชเตอร์

     “ผมถามกับเขาว่า ทำไม บาร์เซโลน่า ถึงไม่ยอมเจรจากับผมก่อน ในฐานะของ เอเยนต์ นักเตะ โดยตรง พวกเขาบอกว่ามันเป็นเรื่องปกติในการทำงานของบาร์ซ่า พวกเขาจะไม่มีการติดต่อกับ เอเยนต์ นักเตะ ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติจากต้นสังกัดของนักเตะที่จะซื้อขายกัน ผมตอบกลับไปว่า เข้าใจได้ แต่บาร์ซ่าไม่เคยเจรจากับ นักเตะ รัสเซีย มายาวนานมาก ตั้งแต่พวกเขาเซ็นสัญญากับ อิกอร์ คอร์เนียฟ (กองกลางทีมชาติรัสเซีย จาก เอสปันญ่อล) ในปี 1994 พวกคุณไม่รู้จักนิสัยพวกเขาหรอก และนั่นคือเหตุผลทำไมต้องมีคนอย่างผมในการเจรจา”

     ตัวแทนของ บาร์เซโลน่า อธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดดีล โดย เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ได้รับข้อเสนอ 25 ล้านยูโร จากสโมสรจาก ลา ลีกา สเปน และสิ่งที่เขาได้รับคำตอบกลับมาว่า งั้น ลิโอเนล เมสซี่ ค่าตัว 30 ล้านยูโร แล้วกัน

     “นั่นไง พวกคุณถึงต้องมีคนอย่างผม” นั่นคือสิ่งที่แลชเตอร์ ตอบกลับไป แต่สิ่งที่เขาต้องเตรียมใจอย่างมาก คือการจะต้องไปบอกกับ อาชาวิน ว่า โอกาสในการย้ายทีมของเขายังไม่มีเค้าลางของความเป็นไปได้เลย

 

โปรดติดตามตอนต่อไป

Ads ทีเด็ด บอล เต็ง วันนี้ ฟุตบอล วันนี้