ทุกวงการอาชีพ จะมีสิ่งหนึ่งที่เป็นเหมือนกับ “จรรยาบรรณ” ของวิชาชีพ ซึ่งเราไม่สามารถก้าวล่วงสิ่งนั้นได้ เช่นเดียวกัน ในวงการฟุตบอล ก็มี “จรรยาบรรณ” ที่เป็นข้อห้ามที่สำคัญที่สุด ของการเป็น นักฟุตบอล อาชีพ นั่นก็คือการ “ล้มบอล”
การลงสนามฟุตบอล ลงแข่งขัน นักเตะ ทุกคนต้องการลงไปเพื่อ “ชนะ” แต่สำหรับการ “ล้มฟุตบอล” คือการทำเรื่องตรงกันข้ามกัน นั่นคือ ทำอย่างไรก็ตามให้ทีมที่ลงเล่น “แพ้” เพื่อให้ได้ประโยชน์จากความพ่ายแพ้ นั้น ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบของ เงินทอง หรือว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน ในด้านอื่น
นี่คือตัวอย่างของการ “ล้มฟุตบอล” ที่มีหลักฐาน และสามารถ เอาผิดได้ ส่วนที่เอาผิดไม่ได้ เพราะไม่มีหลักฐาน มีอีกมากมาย
ไม่ต่างจาก โลกของเรา วันนี้ “ขาว” อาจมี “เทา” มีมากที่สุด “ดำ” ไม่ใช่เรื่องใหม่ ใน คนหนึ่งคน ขึ้นกับว่า คุณ เป็นคนแบบไหนมากกว่ากัน และแสดงออกแบบไหน ออกมาให้กับสังคมได้รับรู้
หลายครั้ง หลายเกม เราจะได้เห็นการเล่นที่เรา “ขัดตา ข้องใจ” นักเตะบางคน หรือบางทีม กับการเล่นที่ผิดพลาดง่าย แบบไม่ควรจะเกิดขึ้น “ล้มบอล หรือเปล่า” แต่ท้ายที่สุดแล้ว หากไม่มี หลักฐาน ที่ชัดเจน ก็ไม่สามารถเอาผิดได้ เหลือไว้เพียงแค่ ความคิด และ เสียงประณาม ของแฟนบอลเท่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น ไม่นานมานี้ ก็เพิ่งมีเคส นายทวารทีมหนึ่งใน ไทยลีก เล่นผิดพลาด “ง่าย” จนทำให้ทีมเสียประตู และพ่ายแพ้ไป ข้อหา “ล้มฟุตบอล” ดังขึ้น ทันทีในสังคมออนไลน์ จนกระทั่ง สโมสร และ นักเตะ ต้องชี้แจง และขอโทษกับความผิดพลาดดังกล่าว พร้อมยืนยันความบริสุทธิ์ใจ กับความผิดพลาด ที่เกิดขึ้น แม้สุดท้ายจะไม่มี การยืนยันว่า “ล้มฟุตบอล” หรือไม่ แต่ก็ทำให้ชื่อเสียงของ นักเตะ พังทลายลงทันที
ในวงการฟุตบอลนั้น การ “ล้มบอล” ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ใน สนามฟุตบอลเท่านั้น แต่อาจจะเกิดจาก คนในสโมสร หรือกระทั่ง กรรมการผู้ตัดสิน ก็สามารถทำให้เกิดการล้ม บอลขึ้นได้
1993 แบร์กนาร์ ตาปี ประธานสโมสร โอลิมปิค มาร์กเซย์ ถูกตัดสินแบนห้ามยุ่งเกี่ยวกับวงการ ฟุตบอล เป็นเวลาสองปี หลังจากมีหลักฐานว่าเขา จ้าง นักเตะ ทีมคู่แข่งของ มาร์กเซย์ ล้มบอล และนั่นทำให้ “โอแอม” ถูกยึดแชมป์ ลีก เอิง และ แชมป์ ยูโรเปี้ยน คัพ ในฤดูกาลนั้น พร้อมกับตกชั้นในฤดูกาลถัดมา
เกมระหว่าง วิมเบิลดัน – อาร์เซนอล ในปี 1998 ลงเล่นไปเพียง 3 นาที ในครึ่งหลัง และเกิดปัญหาไฟดับทั้งสนาม จนทำให้เกมยกเลิกการแข่งขัน แม้ผลสกอร์ จะเป็นอาร์เซนอล นำอยู่ 1-0 โดยภายหลังมีการจับกุม นักพนันชาวเอเชีย ที่จ้างวานการดับไฟในครั้งนั้น เพื่อให้ “ผลเป็นไปตามอัตราบอล” ตามที่ต้องการ แม้จะแข่งไม่จบเกมก็ตาม
รวมถึงที่ดังที่สุดในรอบหลายปี กับ คดีกัลโช่โปลี ในช่วงปี 2006 ที่มีความวุ่นวายในเรื่องของการ “ล้ม บอล” กับหลายสโมสรชั้นนำของ อิตาลี ไม่ว่าจะเป็น ยูเวนตุส, เอซี มิลาน รวมถึง ฟิออเรนติน่า โดยที่ผลสรุปคือ มีบทลงโทษหนักกับ หลายสโมสร แต่ที่หนักที่สุด คือ การริบแชมป์ เซเรีย อา สองสมัย ของ ยูเวนตุส พร้อมการตกชั้นสู่เซเรีย บี
ขณะที่ในทวีปเอเชีย ก็มีเรื่องของการ “ล้มบอล” เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็น ในประเทศจีน รวมถึงในเวียดนาม แม้กระทั่งใน ประเทศไทย ซึ่งในบ้านเกิดของเรา มีการปราบปราม หลายต่อหลายครั้ง ในหนึ่งเคส ที่เกิดขึ้นแบบ “มีหลักฐาน” เกิดขึ้น ในปี 2017 โดยครั้งนั้นมีผู้เกี่ยวข้องด้วยทั้งหมด 15 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้ตัดสิน 2 ราย, นักฟุตบอลอาชีพ 8 คน จากสโมสรราชนาวี และ ศรีสะเกษ เอฟซี รวมถึง กลุ่มนายทุน (พนัน) อีกจำนวน 5 ราย และทั้งหมด ถูกทั้งโทษจำ โทษปรับ ส่วน นักเตะ หมดอนาคตในการเป็น นักเตะ อาชีพ ทันที
ต้นเหตุมาจากเรื่องของการ พนัน ทั้งหมดจริงหรือไม่ คำตอบ ก็ต้องบอกว่า มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน
เมื่อการลงทุน ใน ธุรกิจพนัน มีเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ไหลเข้ามาในวงธุรกิจ การ “ล้มฟุตบอล” จึงเป็นวิธีการที่ “สร้างความเชื่อมั่น” ว่า ผลการแข่งขันจะเป็นไปตามต้องการของ ธุรกิจพนัน อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคู่ ที่ลงแข่งขัน จะเป็นการ ล้มบอล เสมอไป
ทุกวันนี้ การพนัน เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจฟุตบอล เช่นเดียวกับ ฟุตบอล ก็เป็นหนึ่งในการพนัน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเช่นกัน ในเกมฟุตบอลระดับล่าง หรือในฟุตบอลลีกในบางประเทศ เรื่องเหล่านี้ก็ยังคงมีให้เห็น และมีข่าวให้อ่านกันอยู่บ่อยครั้ง และเชื่อว่าจะยังคงมีตราบนานเท่านาน
อย่างไรก็ตาม หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง “ล้ำเส้น” ในสิ่งที่ไม่ควรก้าวข้าม สิ่งที่ตามมาก็คือ ปัญหา ที่จะเกิดขึ้นตามมาเสมอ และนั่นเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด
การ “ล้ม บอล” จะยังคงอยู่ในสังคม ฟุตบอลโลก ตลอดไป อย่างไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่ เมื่อข้อเสนอ “ผลประโยชน์” สามารถเอาชนะ “จรรยาบรรณในวิชาชีพ” เมื่อนั้น “กิเลส” ก็พร้อมจะทำให้คนเรา พร้อมทำทุกอย่าง ได้เพื่อมันเช่นกัน