พาร์คเกอร์ เริ่มต้นการเรียนรู้ในวงการโค้ช เข้าสู่ปีที่สามแล้ว กับการรับงานคุมทีม และในเวลาเดียวกัน วิธีคิด การทำงานของเขา ก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับบรรยากาศการทำงานที่ยุคใหม่ ไม่เหมือนยุคที่เขาเคยเป็น นักเตะ เสียทีเดียว
“พอเข้ามาทำงาน สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องสำคัญมาก ผมได้ทำการทำโปรไฟล์ข้อมูลของ นักเตะ ทุกคน และผมให้บริษัทเอกชนที่ผมจ้าง ทำการคัดแยกกลุ่ม นักเตะ ให้พวกเขาได้พูดคุย เก็บข้อมูล ถามคำถาม และทำมาเป็นเอกสารส่งให้กับผม เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป และความชื่นชอบ และความไม่ชอบส่วนตัวของพวกเขา”
“หลังจากเลิกเล่น และหมดเวลาไปกับการเรียงานด้านโค้ช ผมกลับมาทำงานได้เจอกับ บรรยากาศในห้องแต่งตัวอีกครั้ง มันต่างจากเดิมมาก ผมเองเป็นคนที่ค่อนข้างจะชัดเจนนะ ขาว-ดำ มันชัดเจน ผมชอบใคร ผมก็ชอบ ไม่ชอบใคร ผมก็พูดออกมาอย่างตรงไปตรงมา อาจจมีปัญหากันบ้าง แต่สุดท้ายทุกอย่างจบลว มันก็คือจบ ไม่มีอะไรคาใจ แต่เดี๋ยวนี้ ความเป็นคนมันค่างไป ขนบธรรมเนียม และเกมมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก นั่นก็ทำให้เราต้องเรียนรู้ กับ นักเตะ สักคนหนึ่งมากกว่าเดิม บางคนคุณสามารถที่จะสามารถบอกกับเขาได้เลย เมื่อผลงานเขาไม่ดี แต่กับบางคนคุณไม่สามารถทำแบบนั้นได้ คุณต้องเรียกเขาไปคุยเป็นการส่วนตัว อันนี้เป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้น บรรยากาศของการทำงานล่ะจะเป็นแบบไหน ต้องจริงจังหรือเปล่า คุยกันในสนามซ้อม หรือว่าเรียกมาคุยใน ห้องทำงาน”
“ข้อมูลที่ผมได้รับจากการเก็บข้อมูลมาก่อนหน้านี้ ช่วยเหลือผมได้เยอะมาก เพราะมันช่วยให้ผมเข้าใจ นักเตะ ของตัวเองมากขึ้น และถ้าจำเป็นต้องมาคุยกับ นักเตะ คนไหนคุณควรทำตัวอย่างไร ใช้วิธีการอย่างไร ผมว่ามันช่วยเหลือได้เยอะ บางอย่างที่ของเดิมดีอยู่แล้ว ผมก็ไม่เปลี่ยนแปลงมัน แต่บางอย่างมันเปลี่ยนแปลงแล้วดีขึ้น ผมก็พร้อมเปลี่ยนแปลง”
“ไมค์ กริฟฟิธ คือคนที่รู้จักเขาตั้งแต่ผมยังเป็น นักเตะ และเราก็มาสนิทกัน เพราะตอนนั้นผมมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจ และก็ย้ายไปเล่นกับ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด ผมอยากทำให้ตัวเองพร้อมที่สุด และนั่นทำให้ผมต้องการความช่วยเหลือว่า หากต้องเจอกับความผิดหวัง ผมจะจัดการกับความรู้สึกอย่างไร และรับมือกับความผิดหวังอย่างไร ผมทำเองไม่ได้ แต่ทุกวันนี้ผมแข็งแกร่งขึ้นมาก แน่นอน ผมไม่ชอบความผิดหวัง ไม่อยากเจอกับมัน แต่ไอ้ความกลัวนี่ล่ะ ที่ผลักดันให้ผมทำงานหนัก พยายามเพื่อที่จะไม่ต้องเจอกับมัน ชีวิตไม่มีคำว่าเพอร์เฟคต์ และไม่มีใครไม่เคยผิดหวัง สิ่งที่ทำได้คือเจอกันให้น้อยที่สุด”
“สมัยผมเป็น นักเตะ เยาวชน ผมก้าวขึ้นมาเล่นชุดใหญ่กับ ชาร์ลตัน แอตเลติก ต่อมาผมย้ายไปเชลซี ทีมที่เต็มไปด้วย ซูเปอร์สตาร์ ล้นทีม ซึ่งผมไม่ใช่ดาวดังแบบพวกเขา ผมหลุดตัวจริง มันไม่คุ้นเคยเลยสักนิด และนั่นทำให้ผมย้ายทีม ผมย้ายไป นิวคาสเซิ่ล ที่นั่นมี อลัน เชียเรอร์ เป็นคนสำคัญที่สุดของทีม ผมเหมือนรุ่นน้องคนหนึ่งในทีมเท่านั้น วันหนึ่งหากผมเล่นพลาด ผมก็ต้องการให้ใครสักคนมาช่วยประคองเหมือนกัน และนั่นคือช่วงที่ผมได้เจอกับ ไมค์ กริฟฟิธ และเขาช่วยเหลือกับผมได้เยอะมาก สอนผม และมอบมุมมองใหม่ ๆ ที่ผมมองไม่เห็น และผมนำเรื่องเหล่านั้น มาปรับตัวเวลาทำงานโค้ช”
“ทุกวันนี้ สังคมออนไลน์ มีบทบาทเยอะในวงการกีฬา นักเตะ หลายคนก็ติดมันมาก ติดโทรศัพท์มือถือ ตลอดเวลา แต่ไม่ใช่สำหรับ ลูกทีมของผม ผมไม่ชอบเลย และผมเองก็ไม่ใช้งานมันด้วย แต่ผมก็ไม่ได้ ขัดขวาง หรือต่อต้านหรอกนะ แต่มันก็ต้องมีขอบเขตของมัน เช่นกัน”
“การพูดคุยกับ นักเตะ ยุคนี้ มันไม่ได้คุยกับเพียงแค่เรื่องของฟุตบอลอีกต่อไปแล้ว การที่ นักเตะ เดินเข้ามาหาคุณ เขาอาจมาพร้อมกับปัญหาเกี่ยวกับครอบครัวบ้าง เรื่องทั่วไปบ้าง แต่หน้าที่ของคุณ คือรับฟัง และต้องคุยกับพวกเขาอยากจริงจัง รู้เรื่องรอบตัวในสังคม การทำงานจัดการบุคลากรฟุตบอล มันเป็นแบบนั้นล่ะ และมันไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคุณคนเดียว คุณต้องมีทีมงานคนคอยช่วยเหลือ”
“ผมเองมีทีมงานที่ยอดเยี่ยมรอบตัว แต่ผมเองก็ต้องมีที่ปรึกษาที่เคยผ่านงานในลักษณะเดียวกัน เพราะมันมีหลายเรื่องที่ คุณไม่คุ้นเคย บางเรื่องที่คุณต้องเปิดใจยอมรับว่า เราไม่มีความรู้ อย่างเช่นเรื่อง การเงิน, เรื่องของกฎ FFP หรือการคุยกับ บอร์ดบริหาร นั่นคือเรื่องที่โค้ชต้องทำ มันเป็นสิ่งที่ไม่มีอะไรมาการันตี หรือลงเรียนที่ไหน คุณทำได้แค่เพียง หาที่ปรึกษา ไปลองด้วยตนเอง ที่เหลือคือ โดดน้ำลงไปลองว่ายดู ว่างานพวกนั้น มันเป็นอย่างไร เรียนรู้จากมัน”
ทุกอย่างคือการเรียนรู้ ความเข้าใจ และคงอยู่กับมัน อย่างที่ผมบอกผมกลัวนะ กลัวที่จะผิดหวัง แต่เพราะ “ความกลัว” นี่ล่ะที่ทำให้ผมพัฒนาตัวเอง และยังคงต่อสู้ต่อไป