ufabet ทีเด็ด บอล วันนี้ ราคา บอล

Arsenal Pre-match Shirt: Your Team Your City Your Way

     สมการรอคอยอย่างยิ่งสำหรับ Pre-match Shirt คอลเล็กชั่นสุดท้ายของฤดูกาล 2021-2022 ซึ่ง อาดิดาส ผลิตออกมาพร้อมกับแนวคิดในเรื่องของการเฉลิมฉลอง การที่สโมสรมีชื่อสถานนีรถไฟใต้ดินลอนดอน (London Underground) ครบรอบ 90 ปี ซึ่งเจ้ารถไฟใต้ดินลอนดอน ยังคงเป็นการบริการรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอีกด้วย ปัจจุบันมี 272 สถานี 11 สายหลักรอบกรุงลอนดอน เรียกว่าถ้าจะนั่งกันให้ครบทุกสถานีในวันเดียว อาจจะต้องใช้เวลาทั้งวัน

 

“Arsenal x Adidas x TFL” การร่วมงานกันครั้งแรกของสามองค์กรใหญ่ระดับโลก

     ภายใต้แนวคิด “Your Team Your City Your Way” [ทีมของคุณ เมืองของคุณ เส้นทางของคุณ] เรียบง่าย แต่ตรงโจทย์กับสิ่งที่จะสื่อออกมา และเมื่อ “ข้อความ” นี้ออกมา ก็ไม่แปลกใจที่ “ลอนดอนเนอร์ส” ทั้งหลายจะอุดหนุนกันอย่างถล่มทลาย

ประวัติลายเสื้อ คอลเล็กชั่นนี้คือ

     ย้อนรอยสักนิดของประวัติสำหรับคนคิดจะซื้อ หรืองงว่าลายเสื้อมันคืออะไร ทำไมมันพร้อยและดูละลานตาเมื่อแรกเห็นได้ขนาดนี้ จริง ๆ แล้ว งานนี้ อาดิดาส แทบไม่ได้ออกแบบในเรื่องของดีไซน์เลย แต่คอลเล็กชั่นพวกเขา “เล่นใหญ่มาก” ในเรื่องของแคมเปญ เมื่อจับมือกับ อาร์เซนอล และ TFL (Transport for London) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลในการดูแลการให้บริการของรถไฟใต้ดินในลอนดอน 

 

     โดยตัวเสื้อได้รับแรงบันดาลใจมาจาก หนึ่งในลายของเบาะที่นั่งบนรถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงลอนดอน ซึ่งมีการคลุมด้วยพรม หรือในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า โมเกตต์ (Moquette) ซึ่งลวดลายนี้มีชื่อว่า “Barman” ซึ่งตั้งชื่อตาม คริสเตียน บาร์มันน์ ผู้ที่นำโมเกตต์เข้ามาคลุมเบาะที่นั่งในรถไฟใต้ดินลอนดอนเป็นครั้งแรกในปี 1936 บางคนก็เรียกลายนี้ว่าลาย “Landmark” เพราะมันมีการใส่แลนด์มาร์คสำคัญของกรุงลอนดอนไว้ถึง 4 สถานที่ด้วยกันในลายเสื้อตัวนี้ 

 

     การออกแบบลายดังกล่าวออกแบบโดยบริษัทออกแบบสิ่งทอชื่อว่า Wallace Sewell โดยลวดลายนี้ชนะการประกวดออกแบบลวดลายเบาะซึ่งจัดขึ้นโดย TFL ในปี 2010 และมีการปรับโทนสีให้อ่อนลงในปี 2015 โดยหากใครไปลอนดอนแล้วอยากเห็นเบาลวดลายนี้ เจอกันได้บนรถไฟขบวนสาย BAKERLOO LINE ครับ ส่วนสายอื่น ๆ ก็จะมีลวดลายแตกต่างกันออกไป

 

 

  • อาร์เซนอล เป็นเพียงสโมสรเดียวในวงการฟุตบอลอังกฤษที่มีชื่อสถานีรถไฟของตนเอง นั่นคือ Arsenal Station ในสาย piccadilly Line ซึ่งแฟนบอลจะลงกันที่สถานีนี้ หรือ Finsbury Park ซึ่งเป็นสถานีถัดไปเพื่อมาชมเกมที่สนาม เอมิเรตส์ สเตเดี้ยม หรือจะแวะไปดูสนามเก่าบ้านเดิมที่ตอนนี้เหลือเพียงโครงสร้างเก็บเอาไว้อย่าง ไฮบิวรี่ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ไฮบิวรี่ สแควร์) ก็ได้เช่นกัน เพราะใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น และพวกเขาเลือกใช้สัญลักษณ์ของรถไฟใต้ดินมาไว้ในเสื้อด้วย
  • Arsenal Station นั้นแต่เดิมชื่อว่า Gillespie Road ก่อนจะมีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น Arsenal (Highbury Hill) ในปี 1932 เมื่อ อาร์เซนอล ย้ายจากย่านวูลวิช มาสู่ ไฮบิวรี่ ผู้จัดการทีม เฮอร์เบิร์ต แชปแมน จึงมีการแจ้งขอเปลี่ยนชื่อ และมีการบูรณะปรับปรุงให้มีสถานีที่ใหญ่กว่าเดิมจนกระทั่งในปี 1960 จึงมีการตัดชื่อเหลือเพียง Arsenal นับจากนั้นเป็นต้นมา
  • ในปี 2007-2008 อาร์เซนอลเปิดตัวเสื้อแข่งชุดเยือน และมีวาระการเฉลิมฉลองให้กับ เฮอร์เบิร์ต แชปแมน ก็มีการถ่ายทำภาพประกอบการโฆษณาในสถานีรถไฟใต้ดิน Arsenal Station เพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์นี้

ความโดดเด่นของลายนี้

     ความเด่นของลวดลายที่ทำให้มันได้ชื่อว่า “แลนด์มาร์ค” เพราะนักออกแบบใส่สถานที่สำคัญของ มหานครลอนดอน เอาไว้ถึง 4 ส่วนด้วยกันในดีไซน์เดียว ประกอบไปด้วย ลอนดอนอาย, มหาวิหาร เซนต์ปอล, หอนาฬิกาบิ๊กเบน และ ทาวเวอร์ บริดจ์ ซึ่งสถาปัตยกรรมทั้งหมดนี้คือสิ่งที่นักเดินทางทั่วโลก หากไปลอนดอนแล้ว คงไม่พลาดต้องไปมาอย่างน้อยที่ใดที่หนึ่งมาแล้วอย่างแน่นอน

 

  • ในแง่ของงานออกแบบแน่นอนลวดลาย อาดิดาส ไม่ได้ออกแบบใหม่แต่พวกเขานำโทน และลวดลายมาผสมกับเสื้อคอกลม คอสีน้ำเงิน ไม่ดื้อไม่ฝืนโทนสีให้โดดออกมาแข่งกับลวดลายที่ก็พร้อยมากอยู่แล้ว
  • ตัวเสื้อเป็นวัสดุแบบโพลีเอสเตอร์ 100 % และเป็นการใช้วัสดุรีไซเคิล 100 % ทั้งตัวเสื้อภายใต้แนวคิดของ อาดิดาส ที่พูดถึงเรื่องนี้มาตลอดเกี่ยวกับการลดการใช้พลาสติก หรือทรัพยากรธรรมชาติโดยสิ้นเปลือง เน้นการใช้ซ้ำเป็นหลัก ใส่ได้สบายดี โดยมีการออกแบบมาทั้งแบบแขนสั้น และแขนยาว ซึ่งแขนยาวจะเป็นผ้าอีกแบบใส่สำหรับเฉพาะในช่วงอากาศหนาวเป็นหลัก
  • ตราอาดิดาส และตราสโมสรเป็นงานเย็บ ส่วนสปอนเซอร์กลางอกเช่นเคยกับงานสกรีน โดยตัวเสื้อรุ่นนี้เริ่มต้นใช้งานเกมแรกไปแล้วในเกมพบกับ ลิเวอร์พูล 20 มกราคม 2022

 

     อย่างที่บอกว่า อาดิดาส งานนี้ “เล่นใหญ่” นอกจากคอลเล็กชั่นซึ่งเป็นเสื้อผ้า รวมถึง รองเท้า ออกมาแล้ว สิ่งที่เจ๋งที่สุดของ อาร์เซนอล ในคอลเล็กชั่นนี้คือ ออยสเตอร์ การ์ด (Oyster Card) หรือบัตรรถไฟฟ้าใต้ดินของลอนดอน ซึ่งมีการออกแบบลายพิเศษออกมาเป็นของ อาร์เซนอล โดยตรง อยากได้ทำอย่างไร…ต้องสั่งซื้อสินค้าในคอลเล็กชั่นนี้ตามยอดที่กำหนดกับทางอาดิดาสในอังกฤษ และจะมีการสุ่มหาผู้โชคดีในการได้บัตรลายพิเศษนี้ไป ซึ่งจำกัดเฉพาะการซื้อในอังกฤษเท่านั้น

บทสรุป

     ชอบการควานหาเรื่องราวมาใส่ไว้ในเสื้อของ อาดิดาส มาตลอด พวกเขาเก่งในเรื่องของการเอา “อารมณ์” มาเหนือ “เหตุผล” ในการซื้อสินค้า ไม่ว่าสินค้าที่เห็นคุณจะบอกว่า “สวย” หรือ “ไม่สวย” แต่แทบทุกชิ้นที่ออกมาจะมีการใส่ลูกเล่น หรือเรื่องราวลงไปให้มีความน่าสนใจได้ตลอด และความมีเรื่องราว ทำให้สินค้ามันขายได้ง่ายขึ้น

 

     ลวดลายโมเกตต์ลายนี้ ส่วนตัวก็เคยเห็นมาแล้วตอนไปใช้บริการรถไฟใต้ดินลอนดอน ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของการเดินทางก็เพิ่งมารู้ว่ามันมีความหมายมากมายขนาดนี้ ชื่นชมในการออกแบบของทีมงาน Wallace Sewell ที่เต็มไปด้วยความหมายแฝงอยู่ภายใน และ อาดิดาส ที่หยิบมันขึ้นมาเล่า เอาเรื่องไม่ค่อยมีคนรู้ มาบอกเล่าให้รู้ ผ่านการสื่อสารด้วยสิ่งที่เข้าใจง่ายอย่างฟุตบอลด้วยสโมสรฟุตบอล ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมลอนดอนได้อย่างลงตัว

 

“รถไฟใต้ดินลอนดอนได้ชื่อเสียง อาดิดาสขายของได้ ผู้คนชื่นชอบ ลงตัวทุกฝ่าย”

Ads ทีเด็ด บอล เต็ง วันนี้ ฟุตบอล วันนี้